JustMakeWeb.com รับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บโรงแรม รับทำเว็บขายของ รับทำเว็บบริษัท เว็บสำเร็จรูป รับทำเว็บร้านค้า ออกแบบเว็บไซต์ ใช้งานได้ง่าย รองรับ SEO โปรโมท GOOGLE ให้ติดอันดับได้อย่างรวดเร็ว , ลงโฆษณาฟรี VPS ราคาถูก
รับทำเว็บไซต์
0

สิทธิประโยชน์ทางศุลกากร

 
1. การคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ
การคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 เป็นการคืนค่าภาระภาษีอากรสำหรับวัตถุดิบ ที่นำเข้า ได้แก่ อากรขาเข้า ค่าธรรมเนียมภาษีอื่น ภาษีสรรพสามิต ภาษีมหาดไทย ที่ผู้นำของเข้าได้เสียหรือวางประกันไว้ขณะนำเข้า เมื่อสามารถพิสูจน์ได้ว่าได้นำวัตถุดิบนั้นไปผลิตผสม ประกอบหรือบรรจุเป็นสินค้าส่งออก แล้วก็จะได้รับการคืนอากร โดยจะคำนวณค่าภาษีอากรที่คืนให้ตามสูตรการผลิต ทั้งนี้โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องผลิตส่งออกภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้นำเข้า และต้องขอคืน เงินอากรภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ส่งของนั้นออกไป

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
(1) ของที่นำเข้ามาต้องนำมาผลิต หรือผสม หรือประกอบ หรือบรรจุ แล้วส่งออกไปต่างประเทศ หรือส่งไปเป็นของใช้สิ้นเปลือง ในเรือเดินทางไปต่างประเทศ
(2) ของที่นำเข้ามาต้องมิใช่ของที่กฎกระทรวงระบุห้ามคืนเงินอากร
(3) ปริมาณของที่นำเข้า ซึ่งใช้ในการผลิต หรือผสม หรือประกอบ หรือบรรจุเป็นของที่ส่งออก ให้ถือตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมศุลกากร เห็นชอบ หรือประกาศกำหนดไว้
(4) ของนั้นต้องส่งออกไปทางท่า หรือที่สำหรับการส่งออก ซึ่งของที่ขอคืนอากรขาเข้า
(5) ของนั้นได้ส่งออกไปภายใน 1 ปี นับแต่วันที่นำของซึ่งใช้ในการผลิต ผสมหรือประกอบเป็นของที่ส่งออก หรือใช้บรรจุของที่ส่งออกเข้ามาในราชอาณาจักร เว้นแต่ในกรณีมีเหตุสุดวิสัยทำให้ไม่อาจส่งออกภายในกำหนดเวลาดังกล่าวได้ อธิบดีกรมศุลกากรอาจขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกิน 6 เดือน
(6) ผู้นำของเข้าต้องขอคืนอากรภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ส่งของนั้นออกไป แต่อธิบดีกรมศุลกากรจะขยายเวลาออกไป ตามที่เห็นสมควรได้

ของที่ได้รับคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ
• วัตถุดิบที่เห็นได้ชัดว่ามีอยู่ในของที่ผลิตเพื่อส่งออก
​• วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตโดยตรงที่มีอยู่ในของที่ผลิตส่งออก แต่ไม่ปรากฎให้เห็นอย่างชัดเจน
​• วัตถุดิบจำเป็นที่ใช้ในการผลิต

ของที่ไม่ได้รับคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ
​• เครื่องจักร เครื่องมือ แม่พิมพ์ (Mould) เครื่องใช้ในการผลิตชนิดต่าง ๆ
​• เชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิต

ประกาศกรมศุลกากรที่เกี่ยวข้อง
​• ประกาศกรมศุลกากรที่ 25/2545
​• ประกาศกรมศุลกากรที่ 85/2545
​• ประกาศกรมศุลกากรที่ 66/2551
​• รายชื่อธนาคารที่ให้บริการในระบบประกันลอย
 
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ปัจจุบัน ฝ่ายคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ ได้มีการแบ่งหน่วยงานภายใน ตามประเภทผลิตภัณฑ์ที่ส่งออก ดังนั้น หากท่านมีความประสงค์จะยื่นเอกสารหรือหลักฐานต่าง ๆ ในการดำเนินการขออนุมัติหลักการฯ ยื่นสูตรการผลิต และขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ โปรดติดต่อฝ่ายคืนอากรที่รับผิดชอบตามผลิตภัณฑ์ที่ส่งออก ดังนี้

​• ฝ่ายคืนอากรที่ 1 ผลิตภัณฑ์ส่งออก ประเภทอาหารแปรรูป พลาสติกและเคมีภัณฑ์ (พิกัดฯ ตอนที่ 1-39) โทร. 02-667-7485
​• ฝ่ายคืนอากรที่ 2 ผลิตภัณฑ์ส่งออก ประเภทสิ่งทอและเครื่องหนัง (พิกัดฯ ตอนที่ 40-63) โทร. 02-667-7034
​• ฝ่ายคืนอากรที่ 3 ผลิตภัณฑ์ส่งออก ประเภทผลิตภัณฑ์อื่นๆ (พิกัดฯ ตอนที่ 64-83 และ 93-97) โทร. 02-667-7061
​• ฝ่ายคืนอากรที่ 4 ผลิตภัณฑ์ส่งออก ประเภทกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ (พิกัดฯ ตอนที่ 84-85 และ 90-92) โทร. 02-667-7255
​• ฝ่ายคืนอากรที่ 5 ผลิตภัณฑ์ส่งออก ประเภทยานยนต์และส่วนประกอบยานยนต์ (พิกัดฯ ตอนที่ 86-89) โทร. 02-667-7275
 

2. คลังสินค้าทัณฑ์บน
คลังสินค้าทัณฑ์บน เป็นการให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ส่งออกตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขของคลังสินค้าทัณฑ์บนตามมาตรา 8 และ 8 ทวิ แห่งกฎหมายศุลกากร พ.ศ. 2469 โดยงดเว้นการเก็บอากรขาเข้า และขาออกแก่ของที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ และเก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บน เพื่อส่งออกไปยังนอกประเทศ ทั้งนี้ไม่ว่าจะส่งออกในสภาพเดิมเหมือน และที่นำเข้าหรือในสภาพที่ได้ผลิต ผสมหรือประกอบเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ คลังสินค้าทัณฑ์บนที่กรมศุลกากรประกาศกำหนดให้มีการจัดตั้งเพื่อขอรับสิทธิ ประโยชน์ด้านภาษีอากรมี 7 ประเภท ดังนี้
  1. คลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทโรงผลิตสินค้า
  2. คลังสินค้าทัณฑ์บนทั่วไป
  3. คลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทร้านค้าปลอดอากร
  4. คลังสินค้าทัณฑ์บนทั่วไปสำหรับจัดแสดงสินค้าหรือนิทรรศการ (คสท.)
  5. คลังสินค้าทัณฑ์บนทั่วไปสำหรับเก็บน้ำมัน (คสน.)
  6. คลังสินค้าทัณฑ์บนสำหรับอู่ซ่อมหรือสร้างเรือ
  7. เขตคลังสินค้าทัณฑ์บนสำหรับประกอบการค้าเสรีที่ปลอดจากภาระทางภาษีอากร
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ฝ่ายหลักเกณฑ์ ส่วนคลังสินค้าทัณฑ์บน สำนักสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร
โทรศัพท์ :: 0-2667-7049, 0-2667-7399, 0-2667-7876
โทรสาร :: 0-2667-7334, 0-2672-8121 

 
3. เขตปลอดอากร
เขตปลอดอากร หมายถึงเขตพื้นที่ที่กำหนดไว้สำหรับการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือกิจการอื่นที่เป็นประโยชน์ แก่การเศรษฐกิจของประเทศ โดยของที่นำเข้าไปในเขตดังกล่าวจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ
 
สิทธิประโยชน์
  1. ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่ได้นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อนำเข้าในเขตปลอดอากรในกรณี ดังต่อไปนี้
    1.1 ของที่เป็นเครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือและเครื่องใช้ รวมทั้งส่วนประกอบของของดังกล่าวที่จำเป็นต้องใช้ในการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือกิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ ตามที่อธิบดี อนุมัติ
    1.2 ของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรและนำเข้าไปในเขตปลอดอากร สำหรับใช้ในการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือกิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ
    1.3 ของที่ปล่อยออกมาจากเขตปลอดอากรอื่น
  2. ยกเว้นอากรขาออก สำหรับของที่ปล่อยไปจากเขตปลอดอากร เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
  3. ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการนำสินค้าจากต่างประเทศเข้าไปในเขตปลอดอากร
  4. ใช้ อัตราภาษีร้อยละ 0 ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำสินค้าในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตปลอด อากรเฉพาะสินค้าที่ต้องเสียอากรขาออกหรือที่ได้รับยกเว้นอากรขาออกตามกฎหมาย ว่าด้วยศุลกากร
  5. ยกเว้นภาษีสรรพสามิต สำหรับการนำเข้าและการผลิตของที่กระทำในเขตปลอดอากร
  6. ยก เว้นภาษีสุรา การปิดแสตมป์และค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยสุรา กฎหมายยาสูบ และกฎหมายว่าด้วยไพ่ สำหรับการนำเข้าและการผลิตที่กระทำในเขตปลอดอากร
  7. การ นำของเข้ามาในราชอาณาจักรหรือการนำวัตถุดิบภายในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตปลอด อากรเพื่อผลิต ผสม ประกอบบรรจุ หรือดำเนินการอื่นใดกับของนั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ให้ของนั้นได้รับยกเว้นไม่อยู่ภายในบังคับกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการควบ คุมมาตรฐานหรือคุณภาพการประทับตราหรือเครื่องหมายใด ๆ แก่ของนั้น
  8. ของ ใดที่มีกฎหมายบัญญัติให้ได้รับยกเว้นหรือคืนเงินอากรเมื่อส่งออกไปนอกราช อาณาจักร หากนำของนั้นเข้าไปในเขตปลอด อากรให้ได้รับยกเว้นหรือคืนเงินอากรโดยให้ถือว่าของนั้นได้ส่งออกไปนอกราช อาณาจักรในเวลาที่นำของเช่นว่านั้นเข้าไปในเขต ปลอดอากร
  9. การ นำของออกจากเขตปลอดอากรเพื่อใช้หรือจำหน่ายภายในราชอาณาจักร หรือเพื่อโอนเข้าไปในคลังสินค้าทัณฑ์บน หรือจำหน่ายให้แก่ผู้นำของเข้า ตามมาตรา 19 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 หรือผู้มีสิทธิได้รับยกเว้นอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรหรือ กฎหมายอื่น ให้ถือว่าเป็นการนำเข้ามาในราชอาณาจักรหรือนำเข้าสำเร็จใน เวลาที่นำของเช่นว่านั้นออกจากเขตปลอดอากร
  10. การ นำของในเขตปลอดอากรไปใช้เพื่อการบริโภคหรือเพื่อประโยชน์อย่างอื่นนอกเหนือ จากวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเขตปลอดอากร ให้ถือว่าเป็นการนำของออกจากเขตปลอดอากรเพื่อใช้หรือจำหน่ายภายในราช อาณาจักรดังกล่าวในข้อ (9) เว้นแต่จะเป็นการกำจัดหรือทำลายเศษวัสดุ ของที่เสียหาย ของที่ใช้ไม่ได้หรือของที่ไม่ได้ใช้ ซึ่งอยู่ภายในเขตปลอดอากรโดยได้ รับอนุญาตจากอธิบดี
  11. ของ ที่ปล่อยจากเขตปลอดอากรเพื่อนำเข้ามาในราชอาณาจักร ให้คำนวณค่าภาษีตามสภาพของ ราคาของ และพิกัดอัตราศุลกากร ที่เป็นอยู่ในเวลาซึ่งได้ปล่อยของเช่นว่านั้นออกไปจากเขตปลอดอากรแต่ในกรณี ที่ได้นำของที่มีอยู่ในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตปลอดอากร โดยของที่นำเข้าไปนั้นไม่มีสิทธิได้รับคืนหรือยกเว้นอากร ไม่ต้องนำ ราคาของดังกล่าวมาคำนวณค่าภาษี
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ฝ่ายหลักเกณฑ์ ส่วนเขตปลอดอากร สำนักสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร
โทรศัพท์ :: 0-2667-7334, 0-2667-7237
โทรสาร :: 02-667-7334

ประกาศกรมที่ 87/2546, ประกาศกรมที่ 10/2547
 
 
4. การชดเชยค่าภาษีอากร
ความหมายที่สำคัญในการชดเชยค่าภาษีอากร
  • คำว่า “สินค้า” หมายความว่า สินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร
  • คำว่า “ผลิต” หมายความว่า ประกอบ แปรรูป แปรสภาพ หรือทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้าไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ
  • คำว่า “เงินชดเชย” หมายความว่า เงินที่จะจ่ายชดเชยค่าภาษีอากรซึ่งมีอยู่ในต้นทุนการผลิตสินค้าส่งออกให้แก่ผู้มีสิทธิ
    ได้รับเงินชดเชยในรูปของบัตรภาษีตามพระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร พ.ศ. 2524
  • คำว่า “อัตราเงินชดเชยค่าภาษีอากร” หมายความว่า อัตราเงินชดเชยสำหรับชนิดและประเภทสินค้าที่จะได้รับเงินชดเชย
    ค่าภาษีอากรตามที่คณะกรรมการพิจารณาชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักรได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
  • คำว่า “การส่งออกสินค้า” หมายความว่า การส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร รวมถึงการขายสินค้าภายในประเทศ
    ให้แก่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ และการขายสินค้าให้แก่องค์การ
    ระหว่างประเทศหรือหน่วยงานที่มีสิทธินำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร โดยได้รับการยกเว้นอากรตามกฎหมายว่าด้วย
    พิกัดอัตราศุลกากร
  • คำว่า “ผู้มีสิทธิได้รับชดเชยค่าภาษีอากร” หมายความว่า      
    (1) ผู้ทำการส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร หรือการขายสินค้าภายในประเทศให้แก่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ตามโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ และการขายสินค้าให้แก่องค์การระหว่างประเทศ หรือหน่วยงาน ที่มีสิทธินำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยได้รับการยกเว้นอากรตามกฎหมายว่า ด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
    (2) ผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยจะต้องไม่ได้รับคืนหรือยกเว้นหรือลดหย่อนอากร
 
5. การส่งเสริมการลงทุน (BOI)
การส่งเสริมการลงทุนเป็นมาตรการหนึ่งในหลายมาตรการในการดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย โดยมีหน่วยงานหลักที่ดูแลรับผิดชอบด้านการส่งเสริมการลงทุน คือ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โดยที่สำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้ให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีอากรแก่ผู้ประกอบการในเขตส่งเสริมการลงทุนกรมศุลกากร ซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมดูแล และรับผิดชอบในเรื่องภาษีอากรของรัฐ และเพื่อการส่งเสริมการส่งออกแก่ผู้ประกอบการ จึงต้องกำหนดระเบียบปฏิบัติ สำหรับการปฏิบัติในการนำเข้าเครื่องจักร และวัตถุดิบของผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ด้านภาษีอากรขาเข้า รวมไปถึงควบคุมดูแล อำนวยความสะดวก และให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีอากร

สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกอบการจะได้รับ
(1) ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรหรือได้รับลดหย่อนอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรลงเหลือกึ่งหนึ่ง
(2) ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 3 ปี หรือในบางเขตจะเพิ่มขึ้นเป็น 7 -8 ปี
(3) ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นสำหรับส่วนที่ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นระยะเวลา 1-5 ปี แล้วแต่เขตที่โรงงานตั้งอยู่
(4) อนุญาตให้หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าประปาเป็น 2 เท่าเป็นระยะเวลา 10 ปี นับแต่วันที่เริ่มมีรายได้
(5) อนุญาตให้หักค่าติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกจากกำไรสุทธิร้อยละ 25 ของเงินที่ลงทุนในการนั้น
 
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
หากผู้ประกอบการต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุน โปรดติดต่อโดยตรงที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเริมการลงทุน หรือหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับพิธีการศุลกากรสำหรับของนำเข้าที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน โปรดติดต่อขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
• ฝ่ายเอกสิทธิและส่งเสริมการลงทุน ส่วนพิธีการนำเข้า สำนักงานศุลกากรนำเข้าท่าเรือกรุงเทพฯ 0-22494150 หรือ
• ฝ่ายเอกสิทธิและส่งเสริมการลงทุน ส่วนพิธีการนำเข้า สำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานกรุงเทพฯ 0-25351550 หรือ  
• สำนักงาน/ด่านศุลกากร ที่นำเข้าทุกแห่งในวันและเวลาราชการ 

ที่มา : กรมศุลกากร